Website for Vinyl Lovers
www.musicfountain.net

Home   |    Vinyl Club   |    Reviews   |    LP Shop   |    Acoustics   |    Gallery   |    Services   |    FAQs   |    Order & Contact

Vinyl Club
Glossary

Turntable Basic

ก่อนจะทำการเล่นแผ่นเสียงเราควรมาทำความเข้าใจกับเรื่องเบื้องต้น เช่น คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง การเลือกหัวเข็มให้เหมาะสม การบาลานซ์อาร์ม การตั้งน้ำหนักกด การกำหนดค่า Anti-Skating และอื่นๆให้พอเข้าใจกันเสียก่อน เนื่องจากการ Setup เครื่องเล่นแผ่นเสียงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะ Good Input = Good Output ซึ่งเราจะต้องพิจารณาจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ สภาพแวดล้อมของเครื่อง และองค์ประกอบของตัวเครื่องเอง ก่อนอื่นเราควรทราบความหมายของคำศัพท์ต่างๆเป็นอันดับแรก ส่วนบทความที่เป็นประโยชน์อื่นๆนั้น จะเพิ่มเติมไปเรื่อยๆตามโอกาสที่อำนวย
 

Glossary


A


- Anti-Skating ขณะ Platter หมุนจะเกิดแรงดึง Tonearm เข้าหาศูนย์กลาง Anti-Skating เป็นการตั้งค่าให้เกิดแรงต้านการดึงนั้นเพื่อความสมดุล ซึ่งโดยเบื้องต้นจะตั้งให้เท่ากับแรงกดของหัวเข็ม

- Armrest ที่สำหรับพักวาง Tonearm สามารถ Lock ไม่ให้หลุดเลื่อนตกลงมาได้
 

B


- Base แท่นฐานของเครื่องเล่นแผ่นเสียงซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะทำจาก MDF นำมาตัดเจาะเพื่อติดตั้ง มอเตอร์ Tonearm และPlatter ส่วนที่ทำจากอาคริลิคใสนั้นจะใช้ในเครื่องราคาสูงนัยว่าสามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า

- Belt Driven ระบบขับเคลื่อน Platter ด้วยสายพาน
 

C


- Cantilever ก้านของปลายหัวเข็ม

- Cartridge หัวเข็มที่ประกอบด้วยปลายเข็ม (Stylus / Needle) ก้านปลายเข็ม (Cantilever) และเรือนหัวเข็มที่มีขดลวดและแม่เหล็ก ทำหน้าที่แปลงแรงสั่นสะเทือนให้เป็นสัญญานเสียง มี 2 ประเภท คือ Moving Coil (MC) และ Moving Magnatic (MM)

- Cartridge Compliance ค่าความหยุ่นตัวของหัวเข็ม มีค่าสูง = หยุ่นตัวมาก (อ่อน) เหมาะกับอาร์มมวลเบา-ปานกลาง มีค่าน้อย = หยุ่นตัวน้อย (แข็ง) เหมาะกับอาร์มมวลปานกลาง-หนัก

- Ceramic Cartridge หัวเข็มที่มีปลายเข็มพลิกได้ 2 ด้าน เพื่อเล่นกับแผ่นสปีด 33/45 ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งไว้เล่นกับแผ่น 78 เป็นหัวเข็มสำหรับเครื่องรุ่นเก่า คุณภาพเสียงที่ได้ไม่สู้ดีนัก

- Counterweight ตุ้มถ่วงน้ำหนักท้าย Tonearm มีไว้เพื่อถ่วงให้น้ำหนักของ Tonearm เกิดความสมดุลกับน้ำหนักหัวเข็มที่เลือกใช้

- Cueing อุปกรณ์สำหรับช่วยยก Tonearm ขึ้นหรือปล่อยลงด้วย Hydraulic ซึ่งใช้ Silicone หรือระบบกลไกเป็นตัวช่วยผ่อนแรง
 

D


- D.C. Servo Motor มอเตอร์ความเร็วต่ำ ควบคุมความเร็วด้วยระบบอิเล็คโทรนิค

- Direct Drive ระบบขับเคลื่อน Platter โดยตรงด้วยมอเตอร์แรงบิดสูง
 

E


- Effective Length ระยะจากปลายเข็มถึงจุดหมุนของโทนอาร์ม เป็นค่าที่ระบุโดยผู้ผลิต

- Effective Mass การกระจายน้ำหนักของโทนอาร์มตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อปลายเข็ม
 

F


- Force Gauge ตาชั่งวัดน้ำหนักหัวเข็ม
 

G


- Groove ร่องของแผ่นเสียง
 

H


- Head ส่วนปลายของ tonearm ซึ่งที่เป็นที่ติดตั้ง headshell

- Head Amps. อีกชื่อที่หมายถึง Pre-Phono หรือ Phono Stage

- Headshell (Cartridge Slide หรือ Cartridge Mount) ส่วนที่ติดตั้งหัวเข็ม มีทั้งแบบติดตายและถอดออกได้
 

I


- Induction Motor มอเตอร์มาตรฐานแรงบิดสูง ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ

- Induction/Synchronous Motor มอเตอร์ที่นำจุดเด่นของมอเตอร์แบบ Induction กับ Synchronous ผนวกเข้าด้วยกัน ทำให้หมุนได้รอบเร็วและมีความเร็วสม่ำเสมอตามต้องการ ซึ่งมีชื่อเสียงมากในเครื่องเล่นยี่ห้อ Garrard's Synchro-Lab Series

- Idler Wheel Driven ระบบขับเคลื่อน Platter ด้วยล้อสัมผัส
 

J


- Jig Table โต๊ะสำหรับใช้ Setup เครื่องเล่นชนิด Sprung Suspension เช่น Linn Sondek LP12
 

K


L


- Linear Tonearm อาร์มชนิดเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจึงทำให้หัวเข็มรักษา Alignment ได้คงที่ตลอดเวลา ลักษณะแบบนี้เป็นเช่นเดียวกับการกัดร่องแผ่นเสียง
 

M


- Magnetic Cartridge หัวเข็มที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งให้เสียงที่ดีกว่า Ceramic Cartridge มีอยู่2แบบ ได้แก่ MC และ MM

- MC (Moving Coil) หัวเข็มชนิดมีขดลวดเป็นตัวเคลื่อนที่

- MM (Moving Magnatic) หัวเข็มชนิดมีแม่เหล็กเป็นตัวเคลื่อนที่
 

N


- Null Point ระยะ 2 แห่งบนแผ่นเสียง LP ที่มีค่า Error เป็น 0
 

O


- Overhang ระยะจากปลายเข็มถึงจุดหมุนของอาร์ม - ระยะจากจุดศูนย์กลาง Platter ถึงจุดหมุนของอาร์ม = Overhang
 

P


- Pivoted Tonearm อาร์มที่มีจุดหมุนควบคุมการวาดอาร์มในแนวนอนและกระดกขึ้น-ลงอยู่แยกกัน ซึ่งเป็นแบบที่พบเห็นอยู่ทั่วไป

- Platter แป้นหมุนแผ่นเสียงส่วนมากทำด้วยโลหะ แต่เครื่องเล่นบางยี่ห้อใช้จานหมุนที่ทำจากกระจกหรืออาคริลิค

- Plinth แผ่นกระดานที่อยู่ส่วนบนของแท่นฐานของเครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นที่ติดตั้ง Platter และ Tonearm
 

Q


- Quartz Lock ระบบควบคุมการหมุนของมอเตอร์ด้วยระบบเดียวกับนาฬิกา Quartz ส่วนมากใช้ในเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ Direct Drive
 

R


- Rod ก้านของ Tonearm เพียงอย่างเดียว ไม่รวม Headshell และส่วนประกอบอื่นๆ

- Rumble ความถี่เสียงที่ต่ำกว่าการได้ยินซึ่งเป็นสัญญานที่ Amplifier นำไปขยายอย่างสูญเปล่าทำให้เครื่องต้องทำงานหนักโดยไม่จำเป็น
 

S


- Shellac Records แผ่นเสียงยุคโบราณผลิตจากครั่ง หรือที่เรียกกันว่าแผ่นครั่ง ซึ่งจะเล่นด้วยสปีด 78 กับหัวเข็มโมโน

- Slant Angle มุมเอียงของปลายเข็มที่กระทำบนแผ่นเสียงเมื่อมองจากด้านข้าง

- Spindle แกนกลางสำหรับวางแผ่นแบ่งออกได้ 4 แบบ ได้แก่ 1. แบบแกนธรรมดาที่เห็นโดยปรกติทั่วไป 2. แบบสำหรับซ้อนแผ่นรูเล็ก (45/LP) 3. แบบสำหรับซ้อนแผ่นรูใหญ่ (45) 4. แกนใช้เล่นกับแผ่น45 รูใหญ่ทีละแผ่น

- SRA (Stylus Rake Angle) มุมของปลายเข็มที่กระทำกับแผ่นเสียง

- Step-Up เครื่องขยายสัญญานจากหัวเข็ม MC ก่อนส่งสัญญานไปยัง Pre-Phono ที่ใช้สำหรับหัวเข็ม MM เมื่อนำมาเล่นกับหัวเข็ม MC

- Stylus ปลายเข็มที่อยู่กับหัวเข็มมีทั้งชนิดติดตายและถอดเปลี่ยนได้ เรียกอีกอย่างว่า Needle

- Synchronous Motor มอเตอร์ชนิดที่ใช้กับไฟกระแสสลับที่ออกแบบเพื่อกระแส 50Hz หรือ 60 Hz โดยเฉพาะ ให้ความเร็วคงที่ ส่วนมากจะเป็นมอเตอร์ชนิด low-torque
 

T


- Tonearm (Arm) ส่วนของเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีลักษณะเป็นก้านแขน สำหรับติดตั้งหัว หัวเข็ม และตุ้มถ่วงน้ำหนัก

- Tracking Force น้ำหนักกดของหัวเข็มที่กระทำบนแผ่นเสียงตามที่กำหนด ซึ่งจะกำหนดได้จากคู่มือของหัวเข็มที่ใช้ซึ่งจะระบุเป็น Minimum และ Maximum เพื่อให้ได้เสียงที่ดีที่สุด

- Transcription Turntable เครื่องเล่นแผ่นเสียงประสิทธิภาพสูงซึ่งนิยมใช้ในสถานีวิทยุกระจายเสียง สามารถเล่นแผ่นเสียงได้ทุกความเร็วรวมถึงแผ่นพิเศษขนาด 16" มีความเที่ยงตรงและทนทานมาก

- Transit Screws สกรูที่มีอยู่บนแท่นแบบ Spring Suspension ใช้สำหรับ Lock แท่นไม่ให้ขยับตัวเมื่อทำการขนส่งโดยหมุนสกรูทุกตัวให้ค้างขึ้นทุกตัว
 

U


- Unipivoted Tonearm อาร์มที่มีจุดหมุนควบคุมการวาดอาร์มในแนวนอนและกระดกขึ้น-ลงอยู่ที่จุดเดียวกัน ซึ่งอาร์มจะทรงตัวอยู่บนปลายเข็มในลักษณะเช่นเดียวกันกับเข็มทิศ
 

V


- VTA (Vertical Tracking Angle) มุมของก้านปลายเข็มที่กระทำกับแผ่นเสียง

- VTF (Vertical Tracking Force) แรงกดของหัวเข็มที่กระทำกับแผ่นเสียง
 

W


- Wand ดู Rod

- Warp / Wow / Flutter ความไม่สม่ำเสมอของสัญญานเสียงความถี่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในย่านความถี่ต่ำและสูง ในย่านความถี่ต่ำความไม่สม่ำเสมอของสัญญานจะเกิดจากหัวเข็มเคลื่อนที่ในแนวขึ้น-ลง (Up Hill & Down Hill) เรียกว่าอาการ Warp หรือ Wow ส่วนในย่านความถี่สูงคือตั้งแต่ 4 Hz ขึ้นไปถ้าเสียงมีอาการสั่นจะเรียกว่าอาการ Flutter
 

X


Y


Z




 
Website for Vinyl Lovers
Music Fountain:
Lobby: 1811/61 Parkland Grand Petchuburi Ext, Bangkok Thailand 10310
Audition Office: 88/7 Soi Prachankadee Sukhumvit 39 (Prompong), Bangkok Thailand 10110
Telephone: 091-128-1128

Send mail to musicfountain@yahoo.com with questions or comments about this web site.
Copyright© 2003 Music Fountain