T h e   f i r s t   w e b s i t e   f o r   v i n y l   l o v e r s   i n   T h a i l a n d

                                                                                                

                       

HOME                           

Vinyl Club

The New Player

Things about TT

Tonearm Setup

Nature of Tonearm

The Cartridge

Mat and Clamp

LP Tips

 

Reviews

Origin Live Ultra

TS Audio PH1

NAD PP1

VCL

RB250 Incognito

Viola PH1

PHR Speaker

ZA-D23

Aurora MKII

 

LP Shop

 

 

 

 

 

 

TT Accessories

Audio Equipment

 

Acoustic

Room Treatment

L.O.B. BassTraps

 

Gallery

His Master's Voice

Friend's TT

TT Collection

 

Services

Second Hand

Write to us

Vinyl Forum

 

Opus3 records

Hercules II Power Supply Upgrade for Linn Sondek LP12

Hercules II Installation

 

Tritonix Record

Cleaning Fluid

น้ำยาเช็ดแผ่นเสียง คุณภาพดี

ราคาประหยัด ซื้อ 2 ขวด

แถมผ้าเช็ดแผ่น 1 ผืน ฟรีี

 

 

Accapted

 

 

 

 

Vinyl Club

The New Player

หากคุณคือมือใหม่ที่กำลังทำความรู้จักกับอุปกรณ์เครื่องเสียงที่เรียกว่า Turntable หรือ เครื่องเล่นแผ่นเสียงอยู่ในขณะนี้  คงมีคำถามในใจอยู่หลายอย่าง อาทิ จะซื้อเครื่องรุ่นใด  ใช้หัวเข็มยี่ห้อ/รุ่นอะไร  ต้องมีอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมอีกบ้างหรือแม้กระทั่งจะทำความสะอาดแผ่นเสียงอย่างไร ฯลฯ  คำถามต่างๆเหล่านี้ผมได้รับฟังจากนักเล่นมือใหม่อยู่เสมอซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปรกติธรรมดา  ซึ่งอาจเป็นเพราะการเล่นแผ่นเสียงนั้นดูเป็นเรื่องยุ่งยากและจุกจิกสำหรับยุคสมัยที่ CD เป็นรูปแบบมาตรฐานของการฟังดนตรีจากเครื่องเสียงในทุกวันนี้  สำหรับผู้ที่เริ่มเล่น TT ( Turntable ) นั้น  อย่างน้อยชุดเครื่องเสียงของคุณจะต้องประกอบด้วย  1. Integrated Amp.  2. Speaker  3. Turntable  4. Pre-Phono หรือ Phono Stage  อัน Pre-Phono ที่ว่านี้มีความจำเป็นเพื่อใช้ขยายสัญญานจากหัวเข็มซึ่งมี Gain ขยายต่ำกว่าอุปกรณ์แหล่งกำเนิดเสียงตัวอื่นๆ  เดิมนั้น Pre-Amp. หรือ Integrated Amp. ทุกตัวจะมีภาคขยายสัญญานจากหัวเข็มหรือ Phono มาด้วยเสมอ  แต่เนื่องจากความนิยมการเล่นแผ่นเสียงได้ลดลงตั้งแต่ปลายยุค 70 เป็นต้นมาโดยการแทนที่ของ CD  ทำให้ผู้ผลิตเครื่องเสียงมีความเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะติดตั้งภาค Phono ไว้อีกต่อไป  จึงได้ผลิตวงจร Phono ให้ผู้ที่ต้องการเป็น Option ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นวงจรติดตั้งเพิ่มเติมในเครื่องหรือเป็นเครื่องแยกต่างหาก  ข้อดีของเรื่องนี้คือเราสามารถหา Pre-Phono ที่ถูกรสนิยมได้กว้างขวางมากขึ้นแต่หากมีอยู่ในเครื่อง Integrated Amp. อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพิ่มในเบื้องต้นนี้

ผมขอเสนอคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้เริ่มเล่น Turntable ตามประสบการณ์ส่วนตัว ไว้ดังนี้

1. หากเป็นไปได้ควรซื้อ TT ใหม่จากตัวแทนจำหน่ายที่เชื่อถือได้  แต่ถ้าต้องการซื้อ TT มือสองก็ควรห้ผู้ที่มีประสบการณ์ช่วยเลือกให้  เนื่องจาก TT เป็นอุปกรณ์ที่มีชิ้นส่วนสึกหรอได้มาก  เช่น  Bearing สึกกร่อน,  Tonearm หลวม,  มอเตอร์หมุนไม่ได้รอบ  หรือสปริงรองแท่น้า  ซึ่งผู้ที่คุ้นเคยกับ TT จะสามารถสังเกตอาการดังกล่าวได้ไม่ยาก

2. ควรเริ่มต้นจาก TT ที่ไม่ซับซ้อน  เช่น  แท่นแบบ Plinth ไม่มีสปริงเนื่องจาก Setup ง่ายกว่าระบบสปริงและไม่ต้องดูแลมากนัก

3. การเลือกอุปกรณ์ประกอบกันต้องมีความเหมาะสม  เช่น  เลือกหัวเข็มใช้กับโทนอาร์มที่มีคุณภาพพอๆกัน  การเน้นคุณภาพของอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งมากเกินไปจะไม่ปรากฏประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ในภาพรวม

4. TT ทุกตัวต้องการการ Setup ที่ถูกต้อง  ด้วยค่ากำหนดที่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละรุ่นและต้องตรวจสอบเป็นระยะๆตลอดอายุการใช้งาน  ดังนั้นเมื่อใดที่คุณซื้อ TT จะต้องตรวจอุปกรณ์ Setup ที่มากับเครื่องให้เรียบร้อยไม่ว่าจะเป็นเครื่องใหม่หรือเครื่องมือสอง  เช่น  คู่มือ,  Protractor ประจำเครื่อง เป็นต้น

5. TT แต่ละยี่ห้อ/รุ่นเกิดจาก Concept ของการออกแบบที่แตกต่างกัน  ดังนั้นก่อนซื้อจะต้องลองฟังก่อนเสมอว่ามีลักษณะเสียงประจำตัวเป็นอย่างไรถูกรสนิยมของผู้เล่นหรือไม่

 

รูปแสดง   ศัพท์ที่น่ารู้ในการเล่นแผ่นเสียง

Turntable Basic

ก่อนจะทำการเล่นแผ่นเสียงเราควรมาทำความเข้าใจกับเรื่องเบื้องต้น เช่น คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง  การเลือกหัวเข็มให้เหมาะสม  การบาลานซ์อาร์ม  การตั้งน้ำหนักกด  การกำหนดค่า Anti-Skating และอื่นๆให้พอเข้าใจกันเสียก่อน  เนื่องจากการ Setup เครื่องเล่นแผ่นเสียงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  เพราะ Good Input = Good Output  ซึ่งเราจะต้องพิจารณาจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน  คือ  สภาพแวดล้อมของเครื่อง และองค์ประกอบของตัวเครื่องเอง  ก่อนอื่นเราควรทราบความหมายของคำศัพท์ต่างๆเป็นอันดับแรก  ส่วนบทความที่เป็นประโยชน์อื่นๆนั้น  จะเพิ่มเติมไปเรื่อยๆตามโอกาสที่อำนวย


   

Glossary

A

- Anti-Skating  ขณะ Platter หมุนจะเกิดแรงดึง Tonearm เข้าหาศูนย์กลาง  Anti-Skating เป็นการตั้งค่าให้เกิดแรงต้านการดึงนั้นเพื่อความสมดุล  ซึ่งโดยเบื้องต้นจะตั้งให้เท่ากับแรงกดของหัวเข็ม

- Armrest  ที่สำหรับพักวาง Tonearm  สามารถ Lock ไม่ให้หลุดเลื่อนตกลงมาได้

B

- Base  แท่นฐานของเครื่องเล่นแผ่นเสียงซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะทำจาก MDF นำมาตัดเจาะเพื่อติดตั้ง มอเตอร์  Tonearm  และPlatter  ส่วนที่ทำจากอาคริลิคใสนั้นจะใช้ในเครื่องราคาสูงนัยว่าสามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า

- Belt Driven  ระบบขับเคลื่อน Platter ด้วยสายพาน

C 

- Cantilever  ก้านของปลายหัวเข็ม

- Cartridge  หัวเข็มที่ประกอบด้วยปลายเข็ม (Stylus / Needle)  ก้านปลายเข็ม (Cantilever)  และเรือนหัวเข็มที่มีขดลวดและแม่เหล็ก  ทำหน้าที่แปลงแรงสั่นสะเทือนให้เป็นสัญญานเสียง มี 2 ประเภท คือ Moving Coil (MC) และ Moving Magnatic (MM)

- Cartridge Compliance  ค่าความหยุ่นตัวของหัวเข็ม  มีค่าสูง = หยุ่นตัวมาก (อ่อน)  เหมาะกับอาร์มมวลเบา-ปานกลาง  มีค่าน้อย = หยุ่นตัวน้อย (แข็ง)  เหมาะกับอาร์มมวลปานกลาง-หนัก

- Ceramic Cartridge  หัวเข็มที่มีปลายเข็มพลิกได้ 2 ด้าน  เพื่อเล่นกับแผ่นสปีด 33/45 ด้านหนึ่ง  อีกด้านหนึ่งไว้เล่นกับแผ่น 78  เป็นหัวเข็มสำหรับเครื่องรุ่นเก่า  คุณภาพเสียงที่ได้ไม่สู้ดีนัก

- Counterweight  ตุ้มถ่วงน้ำหนักท้าย Tonearm  มีไว้เพื่อถ่วงให้น้ำหนักของ Tonearm เกิดความสมดุลกับน้ำหนักหัวเข็มที่เลือกใช้

- Cueing  อุปกรณ์สำหรับช่วยยก Tonearm ขึ้นหรือปล่อยลงด้วย Hydraulic ซึ่งใช้ Silicone หรือระบบกลไกเป็นตัวช่วยผ่อนแรง

D

- D.C. Servo Motor  มอเตอร์ความเร็วต่ำ  ควบคุมความเร็วด้วยระบบอิเล็คโทรนิค

- Direct Drive  ระบบขับเคลื่อน Platter โดยตรงด้วยมอเตอร์แรงบิดสูง

E

- Effective Length  ระยะจากปลายเข็มถึงจุดหมุนของโทนอาร์ม  เป็นค่าที่ระบุโดยผู้ผลิต

- Effective Mass  การกระจายน้ำหนักของโทนอาร์มตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อปลายเข็ม

F

- Force Gauge  ตาชั่งวัดน้ำหนักหัวเข็ม

G

- Groove  ร่องของแผ่นเสียง

H

- Head  ส่วนปลายของ tonearm ซึ่งที่เป็นที่ติดตั้ง headshell

- Head Amps.  อีกชื่อที่หมายถึง Pre-Phono หรือ Phono Stage

- Headshell  (Cartridge Slide หรือ Cartridge Mount)  ส่วนที่ติดตั้งหัวเข็ม  มีทั้งแบบติดตายและถอดออกได้

I

- Induction Motor  มอเตอร์มาตรฐานแรงบิดสูง  ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ

- Induction/Synchronous Motor  มอเตอร์ที่นำจุดเด่นของมอเตอร์แบบ Induction กับ Synchronous ผนวกเข้าด้วยกัน ทำให้หมุนได้รอบเร็วและมีความเร็วสม่ำเสมอตามต้องการ  ซึ่งมีชื่อเสียงมากในเครื่องเล่นยี่ห้อ Garrard's Synchro-Lab Series

- Idler Wheel Driven  ระบบขับเคลื่อน Platter ด้วยล้อสัมผัส

J

- Jig Table  โต๊ะสำหรับใช้ Setup เครื่องเล่นชนิด Sprung Suspension เช่น Linn Sondek LP12

K

L

- Linear Tonearm  อาร์มชนิดเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจึงทำให้หัวเข็มรักษา Alignment ได้คงที่ตลอดเวลา ลักษณะแบบนี้เป็นเช่นเดียวกับการกัดร่องแผ่นเสียง

M

- Magnetic Cartridge  หัวเข็มที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งให้เสียงที่ดีกว่า Ceramic Cartridge  มีอยู่2แบบ ได้แก่ MC และ MM

- MC (Moving Coil)  หัวเข็มชนิดมีขดลวดเป็นตัวเคลื่อนที่

- MM (Moving Magnatic)  หัวเข็มชนิดมีแม่เหล็กเป็นตัวเคลื่อนที่

N

- Null Point  ระยะ 2 แห่งบนแผ่นเสียง LP ที่มีค่า Error เป็น 0

O

- Overhang  ระยะจากปลายเข็มถึงจุดหมุนของอาร์ม - ระยะจากจุดศูนย์กลาง Platter ถึงจุดหมุนของอาร์ม = Overhang

P

- Pivoted Tonearm  อาร์มที่มีจุดหมุนควบคุมการวาดอาร์มในแนวนอนและกระดกขึ้น-ลงอยู่แยกกัน  ซึ่งเป็นแบบที่พบเห็นอยู่ทั่วไป

- Platter  แป้นหมุนแผ่นเสียงส่วนมากทำด้วยโลหะ  แต่เครื่องเล่นบางยี่ห้อใช้จานหมุนที่ทำจากกระจกหรืออาคริลิค

- Plinth  แผ่นกระดานที่อยู่ส่วนบนของแท่นฐานของเครื่องเล่นแผ่นเสียง  เป็นที่ติดตั้ง Platter และ Tonearm

Q

- Quartz Lock  ระบบควบคุมการหมุนของมอเตอร์ด้วยระบบเดียวกับนาฬิกา Quartz  ส่วนมากใช้ในเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ Direct Drive

R

- Rod  ก้านของ Tonearm เพียงอย่างเดียว ไม่รวม Headshell และส่วนประกอบอื่นๆ 

- Rumble  ความถี่เสียงที่ต่ำกว่าการได้ยินซึ่งเป็นสัญญานที่ Amplifier นำไปขยายอย่างสูญเปล่าทำให้เครื่องต้องทำงานหนักโดยไม่จำเป็น

S

- Slant Angle  มุมเอียงของปลายเข็มที่กระทำบนแผ่นเสียงเมื่อมองจากด้านข้าง

- Spindle  แกนกลางสำหรับวางแผ่นแบ่งออกได้ 4 แบบ  ได้แก่  1. แบบแกนธรรมดาที่เห็นโดยปรกติทั่วไป  2. แบบสำหรับซ้อนแผ่นรูเล็ก (45/LP)  3. แบบสำหรับซ้อนแผ่นรูใหญ่ (45)  4. แกนใช้เล่นกับแผ่น45 รูใหญ่ทีละแผ่น

- SRA  (Stylus Rake  Angle)  มุมของปลายเข็มที่กระทำกับแผ่นเสียง

- Step-Up  เครื่องขยายสัญญานจากหัวเข็ม MC ก่อนส่งสัญญานไปยัง Pre-Phono ที่ใช้สำหรับหัวเข็ม MM เมื่อนำมาเล่นกับหัวเข็ม MC

- Stylus  ปลายเข็มที่อยู่กับหัวเข็มมีทั้งชนิดติดตายและถอดเปลี่ยนได้  เรียกอีกอย่างว่า Needle

- Synchronous Motor  มอเตอร์ชนิดที่ใช้กับไฟกระแสสลับที่ออกแบบเพื่อกระแส 50Hz หรือ 60 Hz โดยเฉพาะ ให้ความเร็วคงที่  ส่วนมากจะเป็นมอเตอร์ชนิด low-torque

T

- Tonearm (Arm)  ส่วนของเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีลักษณะเป็นก้านแขน  สำหรับติดตั้งหัว หัวเข็ม และตุ้มถ่วงน้ำหนัก

- Tracking Force  น้ำหนักกดของหัวเข็มที่กระทำบนแผ่นเสียงตามที่กำหนด  ซึ่งจะกำหนดได้จากคู่มือของหัวเข็มที่ใช้ซึ่งจะระบุเป็น Minimum และ Maximum เพื่อให้ได้เสียงที่ดีที่สุด

- Transcription Turntable  เครื่องเล่นแผ่นเสียงประสิทธิภาพสูงซึ่งนิยมใช้ในสถานีวิทยุกระจายเสียง  สามารถเล่นแผ่นเสียงได้ทุกความเร็วรวมถึงแผ่นพิเศษขนาด 16" มีความเที่ยงตรงและทนทานมาก

- Transit Screws  สกรูที่มีอยู่บนแท่นแบบ Spring Suspension  ใช้สำหรับ Lock แท่นไม่ให้ขยับตัวเมื่อทำการขนส่งโดยหมุนสกรูทุกตัวให้ค้างขึ้นทุกตัว

U

- Unipivoted Tonearm  อาร์มที่มีจุดหมุนควบคุมการวาดอาร์มในแนวนอนและกระดกขึ้น-ลงอยู่ที่จุดเดียวกัน  ซึ่งอาร์มจะทรงตัวอยู่บนปลายเข็มในลักษณะเช่นเดียวกันกับเข็มทิศ

V

- VTA  (Vertical Tracking Angle)  มุมของก้านปลายเข็มที่กระทำกับแผ่นเสียง

- VTF  (Vertical Tracking Force)  แรงกดของหัวเข็มที่กระทำกับแผ่นเสียง

W

- Wand  ดู Rod

- Warp / Wow / Flutter  ความไม่สม่ำเสมอของสัญญานเสียงความถี่ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นทั้งในย่านความถี่ต่ำและสูง  ในย่านความถี่ต่ำความไม่สม่ำเสมอของสัญญานจะเกิดจากหัวเข็มเคลื่อนที่ในแนวขึ้น-ลง  (Up Hill & Down Hill)  เรียกว่าอาการ Warp หรือ Wow  ส่วนในย่านความถี่สูงคือตั้งแต่ 4 Hz ขึ้นไปถ้าเสียงมีอาการสั่นจะเรียกว่าอาการ Flutter

X

Y

Z


Type of turntables

Manual  เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เล่นโดยไม่มีระบบอัตโนมัติ  ตั้งแต่การวาง Tonearm ลงแผ่น จนถึงการยกออกเข้าเก็บบน Armrest  เป็นเครื่องเล่นแบบที่ให้เสียงดีที่สุด

Semi-Automati เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ต้องยก Tonearm วางด้วยมือแต่เมื่อแผ่นเล่นจบ Tonearm จะยกตัวขึ้นเอง  แล้วจึงวาด Tonearm กลับมาพักบน Armrest ด้วยมือ

Fully Automatic  เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่การเล่นทุกขั้นตอนจะเป็นอัตโนมัติทั้งหมด  เพียงกดปุ่มเครื่องจะระบุขนาดของแผ่นที่เล่น  วาง Tonearm ลงแผ่น  ยก Tonearm ขึ้นและเอาเข้า Armrest และสั่งหยุดหมุนเอง

Programmable  เป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีระบบคล้ายกับเครื่องเล่น CD  คือสามารถกำหนด Track เล่นได้ เครื่องชนิดนี้ผลิตออกมาน้อยมากแต่ยังมีใช้กันอยู่

Changer or Multiple Play  เป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ Fully Automatic  ที่สามารถเล่นได้ต่อเนื่องครั้งละ 6 แผ่นโดยวางซ้อนกันในแกน Spindle แบบพิเศษ  เวลาเล่นแผ่นจะตกลงมาทีละแผ่นจนครบจึงหยุดเล่น  เป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน


Turntable Systems

Idler Driven  เป็นระบบที่ใช้มอเตอร์ High-Speed ติดลูกล้อทดแรงหมุนเสียดสีกับขอบล้อของ Platter  ส่วนใหญ่จะพบกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นเก่าชนิด Changer  เช่น  Garrard รุ่น 6-300  ในปัจจุบันไม่มีผู้ใดผลิต TT ระบบนี้แล้ว

Belt driven  เป็นระบบที่ใช้มอเตอร์ Lower Speed ร่วมกับสายพานหมุน Platter  เป็นระบบที่เงียบและให้เสียงดีที่สุด  เป็นระบบที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน

Direct drive  เป็นระบบขับเคลื่อน Platter โดยตรงจากมอเตอร์ High-Torque  ควบคุมความเร็วรอบด้วยระบบอิเล็คโทรนิค  ปัจจุบัน Technics รุ่น 1200 MK2 มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมใช้กันมากในกลุ่ม DJ     


 

Vinyl Club  The New Player   Things about TT   Tonearm Setup   Nature of Tonearm   The Cartridge   Mat and Clamp   LP Tips

Reviews  TS Audio PH1   NAD PP1   VCL   RB250 Incognito   Viola PH1   PHR Speaker  ZA-D23  Aurora MKII

LP Shop  Origin Live  Rega  ZA  Isokinetik  ASR  TT Accessories   Audio Equipment  

Acoustic  Room Treatment   L.O.B. BassTraps   

Gallery  His Master's Voice   Friend's TT   TT Collection

Services  Second Hand   Write to us   Vinyl Forum

   

Send mail to  musicfountain@yahoo.com  with questions or comments about this web site.
Copyright © 2003 Music Fountain
Last modified: 23/02/55