T h e   f i r s t   w e b s i t e   f o r   v i n y l   l o v e r s   i n   T h a i l a n d

                                                                                                

                       

HOME                           

Vinyl Club

The New Player

Things about TT

Tonearm Setup

Nature of Tonearm

The Cartridge

Mat and Clamp

LP Tips

 

Reviews

Origin Live Ultra

TS Audio PH1

NAD PP1

VCL

RB250 Incognito

Viola PH1

PHR Speaker

ZA-D23

Aurora MKII

 

LP Shop

 

 

 

 

 

 

TT Accessories

Audio Equipment

 

Acoustic

Room Treatment

L.O.B. BassTraps

 

Gallery

His Master's Voice

Friend's TT

TT Collection

 

Services

Second Hand

Write to us

Vinyl Forum

 

Opus3 records

Hercules II Power Supply Upgrade for Linn Sondek LP12

Hercules II Installation

 

Tritonix Record

Cleaning Fluid

น้ำยาเช็ดแผ่นเสียง คุณภาพดี

ราคาประหยัด ซื้อ 2 ขวด

แถมผ้าเช็ดแผ่น 1 ผืน ฟรีี

 

 

Accapted

 

 

 

 

LP Tips

LP Tips เป็นหน้าเว็บที่รวบรวมเกร็ดความรู้ในการเล่นแผ่นเสียง บางเรื่องที่ท่านสงสัย เรื่องสำคัญที่ไม่เคยทราบ เรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่น่าละเลย และอะไรต่ออะไรที่เป็นประโยชนในการเล่นแผ่นเสียงจะรวบรวมมาให้อ่านกันที่นี่  เรายินดีอย่างยิ่งสำหรับท่านที่มีเกร็ดความรู้อันเป็นประโยชน์และต้องการเผยแพร่  กรุณาส่งข้อความมาที่ musicfountain@yahoo.com


Record Types Defined

แผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายนั้นมีอยู่หลายขนาดด้วยกัน เช่น Single, EP หรือLP  ซึ่งบางครั้งผู้ผลิตของแต่ละยี่ห้ออาจจะกำหนดชื่อเรียกที่เป็นของตนเอง เช่น แผ่นอัลบั้ม ขนาด10" อาจเรียกกันอีกอย่างว่า EP (Extended Play) หรือ Little LP ก็มี  ซึ่งเป็นเหตุผลทางการตลาดของผู้ผลิตแผ่นเสียงแต่ละราย  แต่อย่างไรก็ดีแผ่นเสียงที่มีการผลิตออกจำหน่ายอย่างเป็นเรื่องเป็นราวนั้น  สามารถจะจำแนกประเภทได้ ดังนี้

       

1. Single 78 rpm.  คือ แผ่นเสียงขนาดเล็กที่มี 1เพลง/หน้า  เล่นด้วยความเร็ว 78 rpm.  ส่วนมากจะมีขนาด 10"แต่ก็มีขนาด 7"อยู่บ้างไม่มากนัก  ซึ่งในปัจจุบันแผ่นประเภทนี้ไม่มีการผลิตอีกแล้ว

2. Single 7"  คือ แผ่นเสียงขนาดเล็กที่มี 1เพลง/หน้า  เล่นด้วยความเร็ว 45 rpm.เป็นส่วนมาก  แต่ก็มีบางแผ่นที่เล่นด้วยความเร็ว 33 rpm.  หากเป็นแผ่นเสียงขนาด7" ที่มีมากกว่า 1เพลง/หน้า จะเรียกว่าแผ่น EP (Extended Play)  ส่วนแผ่นขนาด 5"และ6"นั้นก็เคยมีผู้ผลิตออกจำหน่ายบ้างเหมือนกันแต่ไม่ถือว่าเป็นขนาดมาตรฐาน

3. EPs 7"  คือ แผ่นเสียงขนาด7" ที่มีเพลงมากกว่า 1เพลง/ด้าน  ซึ่ง EP นั้นย่อมาจากคำว่า "Extended Play"

4. LPs  คือ แผ่นเสียงขนาด10"หรือ12"  ที่เล่นด้วยความเร็ว 33 rpm.หรือ 45 rpm.(มักจะเป็นแผ่นคู่)  แต่บางครั้งอาจจะพบแผ่น Single12" ที่เล่นด้วยความเร็ว 45 rpm. ซึ่งะบันทึก 1-2 เพลง/ด้าน  ส่วนมากจะเป็นแผ่นไม่มีปกีเฉพาะซองแข็งเจาะรูให้เห็น Label กลางแผ่นเท่านั้น

 Record Grading

สำหรับการจำแนกระดับคุณภาพของแผ่นเสียงนั้นได้มีผู้กำหนดวิธีการอยู่หลายแบบ  แต่ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือ ระบบตัวอักษร  ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวางนหมู่นักสะสมแผ่นเสียง  โดยได้กำหนดไว้ ดังนี้

MINT  คือ แผ่นเสียงที่มีความสมบูรณ์อย่างหาที่ติไม่ได้ทั้งสภาพของปกและสภาพของแผ่น  ซึ่งแม้แต่แผ่นใหม่บางแผ่นก็ยังไม่อาจจะเรียกว่าแผ่น "MINT" ได้  หากมีข้อบกพร่องปรากฏให้เห็นหรือได้ยินเมื่อเล่น  ดังนั้นแผ่นเสียงมือสองจะมีระดับคุณภาพอย่างสูงสุด คือ "Near Mint" เท่านั้น

Very Good (VG)  คือ ระดับคุณภาพของแผ่นเสียงที่สภาพของปกและสภาพของแผ่น  มีตำหนิปรากฏให้เห็นหรือได้ยินเมื่อเล่นน้อยมาก  เป็นแผ่นที่มีคุณค่าแก่การสะสมซึ่งหากมีสภาพดีมากแต่ยังมีตำหนิบ้างเล็กน้อย  อาจจะระบุเป็น VG+

Good (G)  คือ ระดับคุณภาพของแผ่นเสียงที่สภาพของปกและสภาพของแผ่น  มีตำหนิปรากฏให้เห็นหรือได้ยินเมื่อเล่นอย่างชัดเจนแต่ยังสามารถเล่นได้โดยไม่ตกร่อง  เป็นแผ่นที่สามารถสะสมไว้ชั่วคราวเพื่อรอการเปลี่ยนกับแผ่นที่มีสภาพที่ดีกว่า

         

การประเมินสภาพของแผ่นเสียงด้วยระบบตัวอักษรนี้  อาจจะมีความละเอียดน้อยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกรด VG กับ ดังนั้นการใช้ระบบตัวอักษรนี้อาจต้องเพิ่ม VG++  VG+  G+ เข้าไปอีกเพื่อให้มีช่องว่างของการประเมินแคบลง  ซึ่งอาจจะสับสนสำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์  ดังนั้นจึงมีคนคิดระบบประเมินสภาพแผ่นเสียงแบบตัวเลขขึ้น เรียกว่า "The 10-Point Grading System" โดยแบ่งระดับการประเมินออกเป็น 10 ระดับ ดังนี้

10 - MINT

9 - Near Mint

8 - Better than VG but below NM

7 - Very Good

6 - Better than G but below VG

5 - Good

4 - Better than Poor but below G

3 - Poor

2 - Really Trashed

1 - It hurts to think about it !!!

ซึ่งระบบตัวเลขนี้เป็นการนำเอาระบบอักษรมาขยายความให้ชัดเจน  เพื่อการเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง

Record Maintenance

เป็นที่ทราบกันดีว่าการดูแลแผ่นเสียงให้สะอาดอยู่เสมอนั้น  จะช่วยลดเสียงรบกวนจากแผ่นในขณะเล่นตลอดจนช่วยให้ปลายเข็มมีอายุใช้งานยาวนานขึ้นอีกด้วย  ดังนั้นการดูแลแผ่นเสียงที่ดีที่สุดก็คือรักษาแผ่นเสียงให้สะอาดอยู่เสมอนั่นเอง  ซึ่งเริ่มจากการมี Platter ที่สะอาดเป็นอันดับแรก  ซึ่งควรทำความสะอาดเป็นระยะๆ ประมาณสัปดาห์ละครั้ง

         

สำหรับ Platter ชนิดไม่มี mat ควรรักษาความสะอาดของ Platter ด้วยการเปิดสวิทซ์เครื่องให้ Platter หมุน  แล้วใช้แปรงขนนุ่มๆวางบน Platter ให้แปรงละเอาฝุ่นออก หากเป็น Platter ชนิดใช้ mat สักหลาดให้นำไปสะบัดเบาๆโดยไม่ต้องซักน้ำ  ส่วน mat ที่เป็นแผ่นยางให้เช็ดด้วยน้ำผสมแอลกอฮอล์อ่อนๆ  และให้ทำความสะอาดแผ่นเสียงทุกครั้งก่อนและหลังการเล่นในแต่ละหน้าด้วยการใช้แปรง carbon fiber วางบน Platter ให้แปรงละเอาฝุ่นออกเช่นกันแม้จะไม่เห็นฝุ่นบนแผ่นเสียงก็ตาม  แปรง carbon fiber จะช่วยลดการเกิดไฟฟ้าสถิตซึ่งเป็นต้นเหตุของการดึงดูดฝุ่นในอากาศให้มาเกาะบนแผ่น

อีกวิธีคือการใช้ปืนยิงประจุไฟฟ้าเพื่อกำจัดไฟฟ้าสถิต  โดยการหันปากกระบอกปืนไปบนแผ่นเสียงแล้วเหนี่ยวไกดัง"แป๊ะ"ให้สุด้างไว้  แล้วให้หันปากกระบอกออกไป้านอื่นแล้วจึงค่อยปล่อยไกปืน  ฝุ่นที่เกาะบนแผ่นก็จะถูกประจุไฟฟ้าผลักออกจากแผ่นไปหมด

    

หากป็นแผ่นเสียงเก่าที่สกปรกมาก เช่น ฝุ่นจับเป็นคราบหรือขึ้นรา  จะต้องทำความสะอาดด้วยการล้างเสียครั้งหนึ่งก่อน  โดยใช้น้ำยาล้างจานผสมกับน้ำสะอาด  ในอัตราส่วนเมื่อเขย่าให้เข้ากันแล้วฟองที่เกิดขึ้นนั้นหายไปหมดในเวลาประมาณ 15 วินาที  ใส่ขวดสเปรย์ฉีดพรมแผ่นเสียงให้ทั่วล้วใช้แปรงสีฟันขนเล็กนิ่มถูวนบนแผ่นทิศทางทวนเข็มนาฬิกาให้ทั่ว  แล้วนำแผ่นไปล้างน้ำใช้นิ้วลูบให้สะอาด  ะวังอย่าให้ Label กลางแผ่นเปียก  เสร็จแล้วไปผึ่งให้พอหมาดๆ เช็ดด้วยผ้าให้แห้งแล้วทำอีกด้านหนึ่งช่นเดียวกัน  การล้างน้ำจะช่วยให้แผ่นที่สกปรกจนมีเสียงรบกวนอย่างมากสามารถนำกลับมาเล่นได้อีก  แต่ก็ยังคงมีเสียงรบกวนเหลืออยู่บ้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่เกิดรา  ราที่เกิดจะกินผิวเคลือบของแผ่นเสียงอย่างถาวรซึ่งจะเป็นบริเวณที่จะเกิดเสียงรบกวนที่แก้ไขไม่ได้

หลังจากล้างแผ่นเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจจะยังมีสิ่งสกปรกติดแน่นหลงเหลืออยู่เป็นแห่งๆ  ให้ใช้ cotton bud จุ่มน้ำยาเช็ดแผ่นเสียงเช็ดย้ำในตำแหน่งี่สิ่งสกปรกหลงเหลืออยู่เบาๆ อีกครั้ง  แต่ถึงอย่างไรก็ตามคงต้องยอมรับข้อจำกัดของแผ่นเสียงเก่าในเรื่องของเสียงรบกวนที่ยังอาจจะมีอยู่อย่างแน่นอน  


Q: เมื่อใดควรจะทำความสะอาดแผ่นเสียงด้วยวิธีเช็ดเปียก

A: การทำความสะอาดแผ่นนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละบุคคล  ปรกตินั้นก่อนและหลังการเล่นให้ใช้แปรง Carbonfibre ปัดแห้งขณะที่แผ่นเสียงหมุนอยู่บน Platter เพื่อเก็บฝุ่นออกก็เพียงพอแล้ว  แต่บางครั้งถ้าแผ่นมีฝุ่นและไฟฟ้าสถิตย์มากก็ต้องใช้วิธีเช็ดด้วยน้ำยาร่วมกับแปรงกำมะหยี่หรือพ่นน้ำยาลงบนแผ่นแล้วเช็ดด้วยผ้า  สังเกตได้จากเมื่อแผ่นเริ่มมีเสียงดัง " กร๊อบแกร๊บ " ซึ่งแม้จะเป็นแผ่นใหม่เมื่อเล่นไปสักระยะหนึ่งก็จะเป็นเช่นกัน  เรื่องนี้เป็นอาการปรกติของแผ่นเสียงทุกแผ่น  ขอให้พยายามเช็ดเป็นระยะๆอย่าให้มีฝุ่นจับแผ่นจนสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า


Q: หัวเข็มมีอายุใช้งานนานเท่าไร

A: โดยทั่วไปหัวเข็มในปัจจุบันมีอายุใช้งานอยู่ประมาณ 1000 ชั่วโมง    ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและวิธีการเล่นที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุของหัวเข็มได้มากทีเดียว


Q: การใช้น้ำยาเช็ดหัวเข็มมีวิธีการและประโยชน์อย่างไร  

A: ในการเล่นแผ่นเสียงนั้น  เราต้องหมั่นสังเกตหัวเข็มว่ามีสิ่งสกปรกมาเกาะหรือไม่  ซึ่งอาจจะใช้วิธีตรวจด้วยสายตาหรือฟังจากเสียงที่พร่ามัวก็ได้  เมื่อหัวเข็มมีสิ่งสกปรกเกาะจับมาก  ให้ใช้พู่กันปลายเล็กๆเขี่ยเศษสกปรก  โดยให้ปัดปลายเข็มเบาๆจากด้านหลังมาหน้าเท่านั้น  ห้ามปัดตามขวางเด็ดขาดและไม่ต้องล๊อคอาร์มบนที่พักเมื่อทำการปัด  เพราะจะทำให้หัวเข็มสู้แรงมือ  ควรปล่อยให้อาร์มสามารถหนีแรงมือได้เล็กน้อย  อาจจะนำพู่กันจุ่มน้ำยาเช็ดหัวเข็มบ้างในบางครั้ง  เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ดียิ่งขึ้นเพราะอาจมีสิ่งสกปรกที่เกาะแน่นหลังการเล่นมานานๆ  อีกทั้งเป็นการเคลือบปลายเข็มให้มีความลื่นลดการสึกหรอของหัวเข็มได้มากทีเดียว  หลังจากเช็ดหัวเข็มด้วยน้ำยาควรปล่อยให้น้ำยาแห้งสนิทดีเสียก่อนที่จะทำการเล่น


Q: ซองในจะต้องเปลี่ยนเมื่อใดและแบบใดดีที่สุด

A: ถ้าดูแลแผ่นเสียงให้สะอาดอยู่เสมอไม่มีฝุ่นสะสมมากนักก็ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยน  การเปลี่ยนซองในควรจะเปลี่ยนในกรณีที่ซองในที่ใช้อยู่เดิมมีฝุ่นสะสมมาก  สังเกตได้จากเมื่อเช็ดแผ่นสะอาดดีแล้วเก็บเข้าซอง  เมื่อดึงแผ่นนั้นออกมาอีกครั้งจะมีฝุ่นติดให้เห็นมาก  ซองในชนิดต่างๆมีข้อดี - ข้อเสีย ดังนี้

1. ซองกระดาษด้านนอก / ซับใน Poly  

ข้อดี คือ แผ่นไม่เป็นรอยเวลาดึงเข้า-ออก  

ข้อเสีย คือ ทำให้แผ่นเกิด Static และราคาแพง

2. ซอง Poly ล้วน  

ข้อดี คือ แผ่นไม่เป็นรอยเวลาดึงเข้า-ออก  ไม่อมความชื้น  ราคาถูก  

ข้อเสีย คือ ทำให้แผ่นเกิด Static  นำแผ่นเข้าซองแข็งยาก และหาซื้อยาก

3. ซองกระดาษล้วน  

ข้อดี คือ ไม่ทำให้แผ่นเกิด Static  นำแผ่นเข้าซองแข็งได้ง่ายและมีราคาถูก  

ข้อเสีย คือ ทำให้แผ่นเกิดรอยเวลาดึงเข้า-ออก  กระดาษเมื่อเก่าแล้วมักจะเป็นขุยเกาะแผ่นและอมความชื้น

4. ซองกระดาษด้านในเคลือบมัน  

ข้อดี คือ ไม่ทำให้แผ่นเกิด Static  แผ่นไม่เป็นรอยเมื่อดึงเข้า-ออกและ  ราคาไม่แพงจนเกินไป  

ข้อเสีย คือ หาซื้อยาก

หมายเหตุ : ซองในที่มีจำหน่ายส่วนมากจะเป็นชนิดที่ 1. และชนิดที่ 3.   


Q: เลือกหัวเข็มให้เหมาะกับ Pre-Phono ได้อย่างไร

A: สำหรับหัวเข็มแบบ MM จะต้องพิจารณาค่าประจุขาเข้า (Input Capacitance) ของ Pre-Phono ให้เหมาะสมกับหัวเข็ม  หาก Pre-Phono มีค่าประจุขาเข้าสูงกว่าจะทำให้เสียงทึบ  สำหรับหัวเข็มแบบ MC นั้นะต้องพิจารณาค่าความต้านทานขาเข้า (Input Impedance) ของ Pre-Phono ให้มีค่าความต้านทานขาเข้ามากกว่าวามต้านทานของหัวเข็ม 2 1/2 เท่าเป็นอย่างน้อย 


Q: Clamp หรือ Weight Stabilizer มีประโยชน์อย่างไร

A: การใช้ Clamp หรือ Weight Stabilizer กดแผ่นเสียงในขณะเล่นนั้น  จะช่วยให้แผ่นเสียงแนบสนิทกับ Platter ได้ดียิ่งขึ้น  ช่วยลดการสั่นสะเทือนและการกำทอนเป็นผลให้ปลายเสียงย่านสูงชัดเจน  อีกทั้งสัญญานที่บันทึกไว้โดยรวมทั้งหมดสามารถถ่ายทอดได้ดีและผิดเพี้ยนน้อยลง  แต่เหมาะกับแผ่นเสียงที่ค่อนข้างหนามากกว่าแผ่นเสียงที่บาง  เพราะแรงกดอาจทำให้แผ่นเสียงที่บางบิดงอได้


Q: ชั้นวาง Turntable ใช้แผ่นวัสดุใดเหมาะสมที่สุด

A: วัสดุที่เหมาะกับการนำมาใช้เป็นชั้นวาง Turntable ที่ดีคือ แผ่นไม้อัดที่มีความหนา 20 มม. ซึ่งดีกว่าแผ่น MDF ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในท้องตลาด  ส่วนชั้นกระจกหรือหินนั้นไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงควรหลีกเลี่ยง


Q: หัวเข็มรุ่นต่างๆของ Rega ใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสม

A: หัวเข็มรุ่น Bias เหมาะกับ Rega P2  รุ่น Super Bias เหมาะกับ Rega P3  รุ่น Elys เหมาะกับ Rega P25  และรุ่น Exact เหมาะกับ Rega P9  ความเหมาะสมที่กล่าวนี้หมายความถึงคุณภาพกับระดับราคาระหว่างเครื่องเล่นและหัวเข็ม  ซึ่งสามารถใช้หัวเข็มรุ่นสูงกับเครื่องรุ่นต่ำได้  แต่ไม่ควรใช้หัวเข็มรุ่นต่ำกว่าที่แนะนำสำหรับเครื่องเล่น Rega รุ่นนั้นๆ


Q: นอกจากหัวเข็มของ Rega เองแล้ว  ยังมีหัวเข็มอะไรที่สามารถเล่นกับเครื่อง Rega ได้อย่างเหมาะสม

A: Grado ทุกรุ่นสามารถใช้ได้ดีกับเครื่อง Rega โดยเฉพาะรุ่น P3 และ Planar25 ซึ่งไม่มีปัญหาของ VTA  แต่หัวของ Grado ไม่เหมาะกับเครื่อง AR เพราะจะเกิดเสียง Hum รบกวนอย่างมาก


Q: สายพานมีอายุใช้งานนานเท่าใดจึงควรเปลี่ยนเส้นใหม่

A: โดยทั่วไปสายพานจะมีอายุใช้งาน 3-5 ปี  ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและการใช้งาน


Q: การหล่อลื่น Bearing เช่น การใส่น้ำมันเพิ่มเติมมีความจำเป็นหรือไม่

A: ปรกติแล้วไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดเพราะน้ำมันหล่อลื่นใน Bearing จะไม่ระเหย  แต่สำหรับเครื่องที่มีอายุใช้งานนานเกิน 10 ปีขึ้นไปอาจจะต้องเติมน้ำมันหล่อลื่นเพิ่มบ้าง  ก็สามารถทำได้โดยใช้น้ำมันหล่อลื่น Bearing โดยเฉพาะ  ห้ามใช้น้ำมันจักรหรือน้ำมันเครื่อง


Q: เครื่อง Rega ควรใช้ VTA Adapter หรือไม่เมื่อใช้หัวเข็มต่างยี่ห้อ

A: ผู้ผลิตเครื่อง Rega ไม่แนะนำการใช้ VTA Adapter กับเครื่องของ Rega ทุกรุ่น  แต่ถ้าจำเป็นต้องปรับมุม VTA การใช้แหวนรองจะให้ความมั่นคงมากกว่า


Q: อยากทราบการปรับปรุง (Modified) โทนอาร์ม RB Model ที่ได้ผลชัดเจนที่สุด

A: ให้เริ่มจาก Counter Weight, Tonearm Wire และ Phono Plug  การเปลี่ยน Counterweight จะให้ผลชัดเจนมากที่สุด 


Q: Clamp ของเครื่อง VPI HW-19 jr. กดแผ่นแรงมาก  เมื่อเล่นกับแผ่นบางๆมักจะทำให้แผ่นงออยู่เสมอ  จะไม่ใช้ Clamp ได้หรือไม่

A: เครื่องเล่น VPI มี Clamp เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน  ดังนั้นจะต้องใช้ Clamp เสมอจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด  แต่ถ้ามีปัญหาเมื่อเล่นกับแผ่นบางแล้ว Clamp กด/งัดแผ่นจนงอ  ให้เอา Washer ยางรองสำหรับดันใต้แผ่นออก  แล้วใช้ Clamp โดยกลับด้านทั้ง Clamp และตัวล๊อค  ก็จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้


Q: Linn Sondek LP12  เริ่มผลิตเมื่อปีใด  แต่ละรุ่นปีที่ผลิตมีความแตกต่างกันอย่างไร

A: ขอให้ดูจากตารางข้างล่างนี้  ซึ่งสามารถประมาณรุ่นปีที่ผลิตได้จาก [serial number]  

 

Product Introduction and Production Dates

(dates and serial numbers are approximate)

1973 LP12 turntable introduced.

[ 2,000] 1974 Main bearing liner changed. Sub-chassis strengthened by addition of strap, spot welded in place. Motor control circuit changed from terminal strip to small pcb. Mains switch changed from two buttons to single with mains neon.

[23,000] 1978 Top plate modified adding two holes for 6x0.5 self tappers into wood block. <Linn claim Nirvana kit available this year>

[27,000] 1979 Lid propr removed and hinges changed to spring loading.

[32,826] 1981 February. Nirvana mechanical components. This consisted of :

. 1 new spring kit (3 springs & 6 grommets),

. 3 large locknuts, 6 small locknuts,

. 5 black chassis bolts,

. 2 motor mounting screws, domes, & nuts allowing it to be positioned with better accuracy.

. 1 motor thrust bearing kit (endcap, spring, ball bearing).

. 1 new drive belt.

. The springs changed from zinc coloured to black.

[38,794] 1982 May Valhalla crystal driven electronic power supply made standard.

[53,000] 1984 Enlarged plinth corner bracing.

[54,101] 1984 June. Sub-chassis strengthening bar epoxy glued instead of spot welded.

[60,383] 1985 August. Cap head screws on bearing housing.

[61,090] 1985 September. Diode modification to Valhalla.

[n/a] 1985 December. Strengthening blocks on corners of plinth.

1986 Suspension springs improved.

[n/a] 1986 May. New clear lid.

[69,161] 1987 March New Formica and MDF armboard.

[n/a] 1987 March New bearing housing.

[69,591] 1987 April New springs.

[70,000] 1987 Bearing improved with better lining material and tighter tolerances. Change to black oil. Suspension springs ground to improved tolerance. Arm board composition improved.

[79,160] New MDF armboard, laminated top and bottom.

[79,700] 1989 Motor thrust pad changed. Valhalla surge guard modification. PCB mains lead (UK).

[81,000] 1989 Harder suspension grommets fitted.

[n/a] 1990 Lingo power supply available as add-on.

[87,047] 1991 Valhalla with 45.

[87,047] motor thrust pad cap added to Lingo models.

[87,206] motor thrust pad cap added to Valhalla models.

[87,672] Introduction of LP12 Basik, Trampolin available.

[87,672] Solid base board replaces hardboard.

[88,950] 1992 Improved top plate fixing.

[90,582] 1993 Cirkus upgrade fitted as standard.

[n/a] 2002 Adikt moving magnet cartridge introduced. Maple plinth introduced adding to existing black, cherry, walnut, rosenut and afromasa options.

 


 

Vinyl Club  The New Player   Things about TT   Tonearm Setup   Nature of Tonearm   The Cartridge   Mat and Clamp   LP Tips

Reviews  TS Audio PH1   NAD PP1   VCL   RB250 Incognito   Viola PH1   PHR Speaker  ZA-D23  Aurora MKII

LP Shop  Origin Live  Rega  ZA  Isokinetik  ASR  TT Accessories   Audio Equipment  

Acoustic  Room Treatment   L.O.B. BassTraps   

Gallery  His Master's Voice   Friend's TT   TT Collection

Services  Second Hand   Write to us   Vinyl Forum

   

Send mail to  musicfountain@yahoo.com  with questions or comments about this web site.
Copyright © 2003 Music Fountain
Last modified: 23/02/55